Uncategorized

สาระน่ารู้เรื่องธงกฐินวัดตาลเอน

🔴ตั้งแต่หลังออกพรรษามา วัดต่างๆ จะจัดให้มีพิธี “ทอดกฐิน” ซึ่งในแต่ละปีกำหนดให้มีจัดขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณี ออกพรรษา นับจาก วันออกพรรษา ไปจนถึงวันลอยกระทง แต่ละวัดสามารถรับ กฐิน ได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่คึกคักมากที่สุด

 เมื่อมีโอกาสไปร่วม "ทอดกฐิน" เราจะเห็น ธงกฐิน ซึ่ง รูปสัตว์ ติดอยู่ตามวัดต่างๆ มีทั้งหมด ๔ แบบด้วยกัน ประกอบด้วย 

ธงจระเข้
ธงนางมัจฉา
ธงตะขาบ
ธงเต่า

ซึ่งธงแต่ละแบบแฝงด้วยความรู้เกี่ยวกับธรรมะ ที่มีความหมายแตกต่างกันออกไปดังนี้

๑. ธงจระเข้ หมายถึง ความโลภ (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม) ใช้ประดับในการแห่ มีตำนานว่า เศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย

๒. ธงนางมัจฉา หมายถึง ความหลง (เสน่ห์แห่งความงามที่ชวนหลงใหล) ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้า กฐิน เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่า อานิสงส์จากการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม

๓. ธงตะขาบ หมายถึงความโกรธ (พิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธที่แผดเผาจิต) ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจอง กฐิน แล้ว ให้ผู้จะมาปวารณา ทอดกฐิน ผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้องเสียเวลามาถาม

๔. ธงเต่า หมายถึง สติ (การระวังรักษาอายตนะทั้ง ๖ ดุจเต่าที่หดอวัยวะซ่อนในกระดอง) ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ ทอดกฐิน เรียบร้อยแล้ว จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน ๑๒

🔴โดยปัจจุบันยังมีเรื่องความเชื่อของประชาชนว่า หากใครได้ธงกฐินไปบูชาตามร้านค้า จะค้าขายดีมีกำไรดี มั่งมีศรีสุข


สำนักงานวัดตาลเอน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Hi, I’m admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *